วาไรตี้ประจำสัปดาห์

กติกากีฬาปันจักสิลัต
November 08, 2017
ผู้แข่งขันควรหันหน้าเข้าหากัน และใช้ศิลปะการต่อสู้ของนักกีฬาปันจักสีลัตในการเข้ากระทำเป้าหมายตนเอง เช่น การปัดป้อง การหลบหลีก การเข้าทำ การทำให้ล้ม เป็นต้น นอกจากนั้น ผู้แข่งขันต้องยอมรับในหลักการของปันจักสีลัต และต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อห้ามต่างๆที่ได้ระบุไว้
การรุก (Offensive) และการรับ (Defensive) จะต้องเริ่มจากท่าเตรียมพร้อม (Bersidia) แล้วใช้กลวิธีของการจับคู่ต่อจากนั้นก้าวเท้าหาคู่ต่อสู้แล้วใช้ท่าของการทำหรือการป้องกันให้สัมพันธ์กัน หลังจากมีการเข้าทำ หรือการป้องกันแล้ว ผู้แข่งขันต้องเข้าสู่ท่าเตรียมหรือท่าจับคู่ต่อไป
การเข้าทำในชุดหนึ่งๆ ต้องทำตามลำดับ ด้วยการพยายามใช้วิธีการเข้าทำหลายๆวิธี เพื่อให้ถึงเป้าหมาย การเข้าทำแต่ละชุดทำได้ไม่เกินชุดละ 6 ครั้งต่อเนื่อง และท่าของการทำนั้นต้องไม่ซ้ำติดต่อกัน จึงได้คะแนนรวมจากการกระทำทั้งหมด เช่น การเข้าทำโดยใช้มือ และมีลักษณะเหมือนกันทำติดต่อกันสองครั้งจะได้คะแนนเท่ากับทำเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
นักกีฬาสามารถโจมตู่แข่งขันที่เป้าหมายอย่างทันทีทันใดด้วยเท้าหรือมือได้ 1ครั้ง
การออกนอกเส้นของนักกีฬาให้ จะนับว่าออกเมื่อมีเท้าหนึ่งเท้าใดก้าวพ้นเส้นออกมาจึงถือว่าออก
เป้าหมาย
เป้าหมาย คือ ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่นักกีฬาสามารถเข้ากระทำได้ตามกำหนด (ยกเว้นคออวัยวะเพศ และกระดูกสันหลัง) ดังนี้คือ
ก. อก
ข. ท้อง (บริเวณลำตัวเหนือขึ้นไป)
ค. ด้านข้างซ้าย ขวาของเอว
ง. บริเวณหลัง(ห้ามโจมตีที่กระดูกสันหลัง)
ขาไม่ใช่เป้าหมายแต่สามารถเข้ากระทำ(ตั้งแต่ข้อเท้าลงไป) เพื่อให้ได้คะแนนจากการกระทำให้ล้มตามแบบฉบับของกีฬาปันจักสีลัตได้
การตัดสินผู้ชนะการแข่งขัน
- การชนะคะแนน (Winning Score)
- การชนะโดยเทคนิคเกิ้ล น็อคเอาท์ (Technical Knock Out)
- การชนะโดยสมบูรณ์ หรือการชนะโดยน็อคเอ๊าท์ (Absolute Win)
- การชนะโดยการให้ออกจากการแข่งขัน (Win due to Disqualification)
- การชนะเนื่องจากกรรมการยุติการแข่งขัน (Referee stop the Competition)
- การชนะเนื่องจากคู่ต่อสู้ไม่ปรากฏตัวที่สนามแข่งขัน หรือชนะโดยได้ผ่าน
(เรียบเรียงโดย นายนักรบ ทองแดง ประธานพัฒนาผู้ตัดสินสมาคมปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย ผู้ตัดสินสหพันธัปันจักสีลัตนานาชาติ ระดับ 1)
ที่มา http://www.natui.com.au/articles/item/view/6602

ที่มาของกระจับของนักมวย
September 15, 2017
กระจับ (กระจับนักมวย) คืออุปกรณ์ป้องกันตัวอย่างหนึ่งในกีฬาชกมวยหรือรวมถึงศิลปะต่อสู้ชนิดอื่น ที่นักมวยจะต้องสวมใส่เพื่อให้เกิดความกระชับและป้องกันแรงกระแทกที่จะเกิดบริเวณอวัยวะเพศ เนื่องจากในกีฬาประเภทนี้มีความเสี่ยงที่จะพลาดพลั้งทำให้บาดเจ็บบริเวณท้องน้อยและช่วงขาหนีบได้ง่าย แม้จะมีกติกากำหนดห้ามไว้แล้วก็ตาม เช่น กีฬามวยมีกติกาห้ามชกใต้เข็มขัด เป็นต้น
กระจับนักมวยมีการออกแบบในหลายลักษณะเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน ในอดีตนั้นรูปร่างกระจับเป็นที่รู้จักกันจะเป็นแบบที่ใช้สำหรับนักมวยไทย เป็นแบบดั้งเดิมคือมีลักษณะเป็นแค่ถ้วยกระเปาะ(cup)ทำจากโลหะขนาดพอเหมาะสำหรับปกปิดด้านหน้าของอวัยวะเพศชายและถุงอัณฑะเท่านั้น และใช้เชือกผูกร้อยให้แน่นกับเอวและง่ามขา โดยนักมวยจะผูกกระจับไว้นอกกางเกงชั้นในก่อนจะสวมกางเกงมวยอีกชั้นหนึ่ง ขณะที่กระจับในการแข่งขันมวยสากล มีการนำเอากระเปาะ(cup)ดังกล่าวไปสวมเข้ากับกางเกงสปอตเตอร์(supporter)ทำให้สวมใส่ได้ง่ายและกระชับขึ้น
ปัจจุบันกระจับได้ถูกออกแบบให้เหมาะสมสำหรับนักกีฬามากขึ้น โดยมีการผลิตออกมาเป็นการเฉพาะให้เหมาะสมกับสรีรร่างกายและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการบาดเจ็บได้สูงสุด เช่น กระจับในกีฬามวยสากลจะออกแบบให้ครอบคลุมได้ทั่วทั้งบริเวณท้องน้อย มักทำจากแผ่นโฟมพลาสติกหุ้มด้วยหนังเพื่อให้มีการดูดซับแรงกระแทกได้ดีขึ้นต่างจากโลหะ และติดแถบยางยืดในตัวแบบกางเกงสปอตเตอร์ทำให้ใส่ขณะฝึกซ้อมได้ง่าย ทำให้ใส่ทับกางเกงมวยไว้ภายนอกได้ นอกจากนี้ยังมีการผลิตกระจับเฉพาะสำหรับนักกีฬาเพศหญิงด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก th.wikipedia.org

โดโด้ ลูกโคกรัก จากเด็กเล็กๆสู่นักสู้บนผืนผ้าใบ
September 08, 2017
"โดโด้ ลูกโคกรัก" มีชื่อจริงว่า นายธีรวัฒน์ ชูจันอัด สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนวราวัฒนา อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 จากโรงเรียนโนนสุวรรณพิทยาคม อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์
ปัจจุบัน กำลังศึกษาในระดับชั้น ม.6/3 โรงเรียนวัดราชาธิวาส แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต จ.กรุงเทพฯ
โดโด้ ลูกโคกรัก ชกมวยไทยมาแล้ว 120 ครั้ง เกียรติประวัติสูงสุด
แชมป์รุ่น 105 ปอนด์ มวยไทยยุทธหัตถีดอนเจดีย์ ประจำปี 2558 จ.สุพรรณบุรี
รองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันมวยไทยสมัครเล่นชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 จ.กรุงเทพฯ
นอกจากนี้ ยังชกมวยสากลสมัครเล่นชกมาแล้ว 30 ครั้ง
เกียรติประวัติสูงสุด เหรียญทองแดง รุ่น 46 กิโลกรัม การแข่งขันกีฬามวยสากลสมัครเล่นยุวชน – เยาวชนชิงชนะเลิศประเทศไทย ประจำปี 2558 จ.ปทุมธานี
โดโด้ เริ่มฝึกซ้อมมวยไทยเพราะ ตอนเป็นเด็กตัวเล็กขาดสารอาหาร มีโรคประจำตัวและก็มักจะโดนเพื่อนแกล้งเป็นประจำทุกครั้งที่โดนเพื่อนแกล้ง กลับบ้านไปก็จะบอกผู้เป็นพ่อ (นายกุลพิพัฒน์ ชูจันอัดเป็นนักมวยเก่า) พ่อก็บอกว่าถ้าไม่อยากโดนเพื่อนแกล้งก็ฝึกมวยไทย ผมจึงลองฝึกมวยไทย ทุกครั้งที่เรียนมวยพ่อสอนเสมอว่าพ่อจะสอนให้เจ้าด้วยเหตุผล 3 ประการคือ
1.เพื่อใช้ในออกกำลังกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
2.เพื่อสืบสาน อนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติไทย
3.เพื่อเอาไว้ใช้ในการป้องกันตัวยามฉุกเฉิน และช่วยเหลือคนอื่นเมื่อถูกรังแก
และยังสามารถนำวิชามวยไทย ไปใช้เป็นอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้อีกด้วย
หลังจากฝึกซ้อมมวยไทยแล้ว เพื่อนๆ ที่ชอบแกล้ง ก็ไม่กล้าแกล้งอีกเลย สุขภาพร่างกายของโดโด้ก็เริ่มดีขึ้น กลายเป็นเด็กที่มีกล้ามเนื้อและสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และเพื่อนๆ ยังขอให้ผมสอนมวยให้ด้วย และในช่วงนั้นปี 2008 ร้อยเอก ดร.สมจิตร จงจอหอ (ซึ่งเป็นน้า) ที่มีบ้านติดกัน ได้สร้างประวัติศาสตร์ ด้วยการคว้าเหรียญทองมวยสากลสมัครเล่น จากกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ทุกคนในหมู่บ้านและชาวไทยทั่วประเทศต่างยกย่องให้เขาเป็นฮีโร่ ผมจำภาพที่น้าผมได้เหรียญทองในวันนั้นได้เลยว่า มันเป็นภาพที่สวยสดงดงามมาก พอลงจากเครื่องบินมีคนไทยจำนวนมากไปต้อนรับ มอบเงิน มอบทอง รถยนต์และอื่นๆ อีกมากมาย ความเป็นอยู่ทางบ้านก็ดีขึ้น มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก โดโด้จึงบอกพ่อ ด้วยความภูมิใจว่า "พ่อครับผมอยากชกมวยและอยากเก่งเหมือนน้าสมจิตรครับ"
โดโด้ จึงเริ่มฝึกซ้อมอย่างจริงจังและประเดิมชกครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า โดโด้ ลูกโคกรัก เส้นทางนักมวยของผมไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ชกครั้งแรก ก็ประสบกับความพ่ายแพ้ ผมจึงหยุดซ้อมและไม่อยากชกมวยอีกต่อไป และมีอยู่วันหนึ่ง สมจิตร จงจอหอ ได้กลับบ้านไปเยี่ยมแม่ และมาสอนมวยที่ค่ายมวยของพ่อ โดยใครที่มาซ้อมด้วยจะให้เงิน เป็นสินน้ำใจคนละ 20 บาท ด้วยความอยากได้เงินผมจึงซ้อมมวย และน้าสมจิตรก็เล่าให้ฟังว่า
"กว่าน้าจะมาถึงจุดนี้ได้ น้าเหนื่อยมาเยอะ เจ็บมาเยอะ ขอให้ทุกคนสู้อย่างน้านะ"
คำนี้แหละที่ทำให้ผมลุกขึ้นสู้อีกครั้ง และทุกๆครั้งที่ผมเหนื่อย ผมท้อ ผมก็จะนึกถึงคำนี้ มันทำให้ผมมีกำลังใจสู้ต่อ โดโด้ จึงตั้งใจฝึกซ้อมมากขึ้นและพ่อก็พาตระเวนชกมวยหาประสบการณ์ ใน จ.บุรีรัมย์ จ.นครราชสีมา จ.สุรินทร์ และ จ.ใกล้เคียง แพ้บ้าง ชนะบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะชนะ ทุกครั้งที่ผมชกเสร็จไม่ว่าแพ้หรือชนะ ทุกคนต่างให้กำลังใจ เพราะโดโด้ ทำหน้าที่อย่างเต็มที่แล้ว พอชกได้ 80 ครั้ง ก็เริ่มจะหาคู่ชกยากแล้ว หรือถ้าได้ชกก็ต้องชกกับคู่ต่อสู้ที่ใหญ่กว่าเป็นประจำ โดโด้ จึงตัดสินใจเข้ามาชกในเวทีเมืองกรุง ตั้งแต่เวทีมวยนานาชาติรังสิต เวทีมวยลุมพินี เวทีมวยราชดำเนิน แต่ด้วยการเดินทางไกล ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า อ่อนแรง ผลงานจึงแพ้บ่อย พ่อจึงปรึกษากับญาติพี่น้อง จึงตกลงที่จะย้ายมาเรียนและฝึกซ้อมที่ค่ายมวยโรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ โดยการสนับสนุนของ ว่าที่ร้อยตรีสุเทพ แก้วรัตน์ (ซึ่งเป็นน้าและเป็นครูสอนที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส) และร้อยเอก ดร.สมจิตร จงจอหอ พอมาซ้อมที่กรุงเทพโดยมีพ่อเป็นเทรนเนอร์ให้ ทำให้การฝึกซ้อมดี บำรุงดี พักผ่อนดี จึงทำให้ผลงานออกมาดี ชนะเป็นส่วนใหญ่ ไฟต์ที่ประทับใจที่สุด คือการชกรองคู่เอกในศึกวันกิ่งทอง เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2560 โดยชนะน๊อค ไคโตะ ว.วันชัย (นักมวยไทยชาวญี่ปุ่น) ทั้งๆ ที่ใครๆก็รู้ว่าโดโด้เสียเปรียบ โอกาสแพ้จึงสูง โดโด้จึงตั้งใจฝึกซ้อมอย่างเต็มที่และโดโด้เอง ก็ทำให้ทุกคนได้รู้ว่าความยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น จริงๆ
ปัจจุบัน โดโด้มีค่าตัวในการชกมวยไทยอาชีพ 25,000 บาทและได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันมวยไทยสมัครเล่น IFMA Youth World Muaythai Championships 2017 วันที่ 3-11 สิงหาคม 2560 ณ อาคารนิมิบุตร และคว้าเหรียญทองในรุ่น 54 กก. เยาวชนชาย
อนาคต อยากได้แชมป์เปี้ยนมวยไทยเวทีมาตรฐาน และอยากเป็นนักกีฬาทีมชาติไทย เมื่อเป็นนักกีฬาทีมชาติแล้วก็มีโอกาสรับราชการทหาร – ตำรวจ เพื่อความมั่นคงขอตัวเราเอง และมีสวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับ พ่อ – แม่ ยามแก่เฒ่าเพื่อทดแทนบุญคุณท่าน
ขอบคุณข้อมูลจาก ว่าที่ร้อยตรีสุเทพ แก้วรัตน์
◄
1 / 1
►